หน้าเว็บ

codeshoutbox.txt

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ถ้าจะอ่านแล้วยิ้มก็ไม่ว่ากัน



1. คิดเสมอว่าการโกรธ 1 นาที จะทำให้ความทุกข์อยู่กับเรา 3 ชั่วโมง
2. ถ้ายิ้มให้กับคนที่อยู่ในกระจก รับรองว่าเค้าต้องยิ้มตอบกลับมาทุกครั้งแน่
3. หลับตานิ่งๆ ซัก 3 นาที เมื่อรู้สึกว่าอะไรตรงหน้ามันช่างยากจัง
4. ระหว่างแปรงฟันถ้าฮัมเพลงด้วยไปจนจบจะทำให้ฟันสะอาดขึ้น 2 เท่า
5. เคี้ยวข้าวแต่ละคำให้ช้าลง จากที่รสชาติธรรมดาก็จะอร่อยขึ้นเยอะ
6. หัดพูดคำว่า“ไม่เป็นไร”ให้เคยปากแทนคำว่า“จะเอายังไง”
7. สัตว์เลี้ยงที่บ้านเก็บความลับเก่ง เรื่องที่ไม่อยากให้คนอื่นรู้สามารถเล่าให้มันฟังได้นะ
8. อาหารที่ไม่ชอบกินตอนเด็ก ลองตักเข้าปากอีกที เผื่อจะกลายเป็นอาหารจานโปรด
9. เขียนชื่อคนที่เราเกลียดใส่กระดาษแล้วฉีกทิ้ง ความเกลียดจะเบาบางลงเรื่อยๆ
10. ปล่อยน้ำตาให้ไหลโดยไม่ต้องเช็ด เมื่อน้ำตาแห้ง จะดูไม่ออกว่าเพิ่งร้องไห้มา
11. ก่อนจะซื้ออะไรก็ตาม ต้องคิดหาประโยชน์ของมันให้ได้อย่างน้อย 3 ข้อก่อน
12. ถึงเสื้อกางเกงในตู้จะมีอยู่น้อย แต่ถ้าสลับกันไปเรื่อยๆ ก็ดูเหมือนจะเยอะขึ้น
13. เลือกให้ของขวัญคนที่ไม่เคยได้รับ ดีกว่าคนที่ได้รับเยอะจนจำชื่อคนให้ไม่หมด
14. ในวันที่รู้สึกเศร้าๆ เหงาๆ เดินไปซื้อดอกไม้ให้ตัวเองสักดอกแล้วจะรู้สึกดีขึ้น
15. แอบรักใครสักคน ยังไงก็ดีกว่าไม่เคยรู้ว่า “ความรัก” เป็นยังไง
16. ถึงจะไม่ได้ออกไปไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแต่งตัวสวยๆ หล่อๆ ไม่ได้นี่
17. พยายามอ่านหนังสือทุกชนิดในมือให้จบเล่ม อาจไม่สนุกแต่มีประโยชน์แฝงอยู่
18. วันที่ตื่นเช้าๆ ให้บิดขี้เกียจนานที่สุดเท่าที่จะทำนานได้ ถ้าขี้เกียจออกกำลังกายน่ะ
19. รู้รึเปล่าว่าดอกไม้ที่บานอยู่กับต้น ยังไงก็อยู่ได้นานกว่าบานในแจกัน
20. ทะเลาะกับใครๆ พร้อมรอยยิ้ม เรื่องราวจะจบง่ายกว่าที่คิดเยอะ
21. เอารูปตัวเองตอนเด็กๆ มาดูตอนเครียด อารมณ์จะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
22. พยายามหาข้อบกพร่องของคนที่เธออิจฉา อย่างน้อยก็มีข้อปลอบใจตัวเองบ้าง
23. โทรไปหาแฟนแล้วพูดแค่คำเดียวว่า “คิดถึง” พอวางสายแล้วต้องยิ้มทั้งคู่
24. ในวงสนทนาถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะคุยอะไร รอยยิ้มสามารถช่วยแก้สถานการณ์ได้
25. ค่อยๆ เดินทอดน่องแบบสบายๆ ในวันที่ไม่มีธุระให้ต้องไปสะสาง
26. ซื้อของฝากทุกคนในบ้าน ก็เหมือนกับการซื้อของฝากตัวเองนั่นแหละ
27. จะหน้าตายังไงก็แล้วแต่ ถ้าทิ้งขยะลงพื้น ก็กลายเป็นขี้เหร่ได้ทันตาเห็น
28. นั่งสมาธิให้นานๆ และบ่อยๆ ก็ทำให้ผิวสวยขึ้นได้เหมือนกัน
29. นอกจากตอนที่เคี้ยวข้าวแล้ว ไม่ว่าก่อนหรือหลังกินก็หัวเราะได้อร่อย
30. จินตนาการถึงเรื่องที่อยากมีหรืออยากเป็น คือยานอนหลับอย่างหนึ่ง
31. อ่านหนังสือหรือการ์ตูนโปรดเป็นการเติมน้ำมันให้ตัวเองอย่างดี
32. ยังไม่มีใครเคยแย้งว่า การอาบน้ำไม่สามารถคลายเครียดได้จริงๆ
33. ก่อนจะด่าใครให้นับ 1 ถึง 50 เผลอๆ อาจจะไม่อยากด่าแล้วก็ได้
34. ไม่ต้องทำยังไงกับเพื่อนที่หักหลัง ก็แต่อย่าเรียกเค้าว่าเพื่อนก็พอแล้ว
35. รักครั้งแรกส่วนใหญ่ก็อกหักทั้งนั้น น่าจะดีใจที่ไม่แปลกกว่าชาวบ้านเค้า
36. การที่ทำของหายอาจเป็นการใช้หนี้จากชาติที่แล้วให้คนอื่นที่เก็บมันได้
37. ถึงจะไม่มีเงินอยู่ในกระเป๋าซักบาท ยังดีกว่าไม่มีเสื้อผ้าให้ใส่ตั้งเยอะ
38. หนี้ที่โดนเบี้ยวไป ทำให้เรารู้จักใครบางคนดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้เวลามาก
39. คนอื่นไม่เข้าใจเราไม่เห็นแปลก ในเมื่อเราก็ไม่เข้าใจคนอื่นเหมือนกัน
40. ไม่ต้องช่วยใครๆ ด่าตัวเอง ถ้าสิ่งที่ทำไปแน่ใจว่าพยายามเต็มที่แล้ว
41. วิ่งให้เหนื่อยมากๆ ความโกธรจะได้ถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ
42. ถ้ากลัวจะนอนฝันร้าย สวดมนต์ก่อนนอนเหมือนตอนเด็กๆ ดูสิ
43. ของฝากสำหรับคนห่างไกล คือการโผล่ไปเซอร์ไพรส์ด้วยตัวเอง
44. เพลงจังหวะมันๆ ทำให้คนฟังกระปรี้กระเปร่าได้โดยอัตโนมัติ
45. อย่าเดาว่าอะไรอยู่ในกล่องของขวัญ แล้วจะไม่รู้จักคำว่าผิดหวัง

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

รังสี คืออะไร

รังสีคืออะไร
รังสี...คืออะไร?
http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=160&Itemid=158


รังสี (Radiation) ไม่ใช่ของแปลกใหม่ ไม่ใช่สิ่งประหลาด รังสีเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ โดยมาจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั่วไป หรือมาจากรังสีที่มีต้นกำเนิดจากภายนอกโลกของเรา รังสีคือพลังงานที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ แสงสว่าง รังสีเอ็กซ์ และรังสีคอสมิกเป็นต้น และ/หรือ ในลักษณะของอนุภาคที่มีความเร็วสูง เช่น แอลฟา และ เบตา เป็นต้น





รังสี...เกิดขึ้นได้อย่างไร

รังสีที่เกิดขึ้น ได้ทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ โดยแหล่งที่ก่อให้เกิดรังสีมากที่สุดได้แก่ รังสีจากธรรมชาติ อาทิเช่น จากสารกัมมันตรังสีที่มีในพื้นดินสินแร่และสิ่งแวดล้อม จากอากาศที่เราหายใจ แม้กระทั่งในร่างกายและในอาหารที่เราบริโภค ซึ่งมีการเจือปนด้วยสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ นอกจากนั้นในห้วงอวกาศก็มีรังสีซึ่งนอกจากรังสีของแสงอาทิตย์แล้ว ก็ยังมีรังสีคอสมิกที่แผ่กระจายอยู่ทั่วจักรวาล แหล่งกำเนิดรังสีที่มาจากการกระทำของมนุษย์มีหลายรูปแบบ อาทิเช่น จากการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ รวมทั้งการผลิตสารกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่างๆ



รังสีนิวเคลียร์ทั่วไป

รังสีแอลฟา (a) แอลฟาเป็นอนุภาคที่มีคุณสมบัติเหมือนนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม (2He4 ) ในแต่ละอนุภาคแอลฟาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกสองหน่วย (ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค)


รังสีเบต้า (b) เบต้าเป็นอนุภาคที่มีมวลและค่าประจุไฟฟ้าเท่ากับอิเลคตรอน ในแต่ละอนุภาคมีประจุไฟฟ้าหนึ่งหน่วย ถ้าประจุเป็นบวก เรียกว่า อนุภาคเบต้าบวก ( b+ ) หรือ โปสิตรอน หากประจุเป็นลบ เรียกว่าอนุภาคเบตาลบ ( b- ) โดยทั่วๆไปหากเรียกแต่เพียง เบต้า จะหมายถึง อนุภาคเบต้าลบ ทำให้เกิดรังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่า Bremsstrahlung หรือ Braking Radiation ซึ่งมีพลังงานตั้งแต่ 0 ถึงพลังงานสูงสุดของรังสีเบตา และมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีเบตา (วัตถุที่ขวางกั้นรังสีเบตาที่มี Atomic number ต่ำกว่า)


รังสีแกมมา (g) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียส มีความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 1018 ถึง 1021 Hz และมีพลังงานสูง


รังสีเอ็กซ์ (x-rays) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีแกมมา แต่แผ่ออกมาจากวงโคจรของอิเลคตรอน รังสีเอ็กซ์มีพลังงานต่ำกว่า รังสีแกมมา และมีความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 1015 ถึง 1022 Hz รังสีเอ็กซ์มีอยู่สองชนิดได้แก่ Continuous X-rays หรือ Bremsstrahlung และ Characteristic X-rays


รังสีนิวตรอน (n) เป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง นิวตรอนไม่อาจอยู่อย่างอิสระ จะสลายตัวไปเป็นโปรตรอน อิเลคตรอน และแอนตินิวตริโน ภายในเวลาประมาณสิบสองนาที

ย้อนวัยเด็ก คลายเครียด

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

O-net 2552 ข้อ 53-57

O-Net 2552

http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm




















อธิบาย
การสะท้อนของคลื่น Reflection
เมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบ













อธิบาย
- เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง จะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือก โดยคลื่นที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปยังอีกปลายด้านหนึ่งของเชือก
- เมื่อเราสบัดเชือกเร็วขึ้น ความยาวคลื่นในเส้นเชือกก็จะลดลงโดยถือว่าความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกด้วยอัตราเร็วคงตัว
- เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง ให้เกิดคลื่นดล ผ่านรอยต่อของเส้นเชือก 2 เส้นที่มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบรอยต่อจะเกิด
- การสะท้อนและหักเห จากรูปคลื่นเคลื่อนที่จากความเร็วมากไปหาความเร็วน้อย โดยคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา














อธิบาย
การสั่นพ้องของเสียง

ถ้าเราส่งคลื่นเสียงจากลำโพงเข้าไปทางปากหลอดคลื่นเสียงจะสะท้อนที่ปกาหลอดทั้งสองสองกลับไปกลับมา แล้วเกิดการแทรกสอดกัน ทำให้เกิดคลื่นนิ่ง เมื่อปรับความถี่ของคลื่นเสียงให้มีค่าพอเหมาะจะเกิดคลื่นนิ่งที่มีแอมพลิจูดกว้างมากขี้น และถ้าที่ปากหลอด เป็นตำแหน่งของปฏิบัพของคลื่นการกระจัดพอด จะได้ยินเสียงดังออกมาจากหลอดดังที่สุด แสดงว่าเกิดการสั่นพ้องของเสียง เรียกคลื่นใหม่ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ว่า คลื่นนิ่ง ( Standing wave)
ความถี่ของคลื่นนิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอด มีได้หลายค่า ดังนี้
1. ความถี่มูลฐาน ( fundamental ) เป็นความถี่ต่ำสุดของคลื่นนิ่ง ทำให้คลื่นนิ่งที่ได้มีความยาวคลื่นมากที่สุด
2. โอเวอร์โทน (Overtone ) เป็นความถี่ของคลื่นนิ่งที่ถัดจากความถี่มูลฐาน
3. อาร์โมนิค ( Harmonic ) เป็นความถี่ที่บอกว่า ความถี่ขณะนั้นสั่นเป็นกี่เท่าของความถี่มูลฐาน

คลื่นนิ่งของเสียงที่สำคัญคือคลื่นนิ่งที่เกิดขึ้นในท่ออากาศ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ท่อปลายเปิด
2. ท่อปลายปิด

คลื่นนิ่งในท่ออากาศเกิดขึ้นได้โดย เมื่อเสียงแผ่เข้าไปในท่ออากาศแล้วเกิดการสะท้อน คลื่นที่สะท้อนมีความถี่และแอมพลิจูดเท่ากับคลื่นตกกระทบ คลื่นทั้งสองจึงซ้อนทับกัน เมื่อมีเงื่อนไขที่เหมาะสมคลื่นรวมที่เกิดขึ้นจะเป็น คลื่นนิ่ง เงื่อนไขดังกล่าวนั้น ความถี่ของคลื่นตกกระทบจะต้องพอเหมาะจนทำให้ปลายเปิดของท่อเป็นปฏิบัพ และปลายปิดเป็นบัพ













อธิบาย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ
ปัจจุบันมีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายๆด้านเช่น การติดต่อสื่อสาร (มือถือ โทรทัศน์ วิทยุ เรดาร์ ใยแก้วนำแสง) ทางการแพทย์ (รังสีเอกซ์) การทำอาหาร (คลื่นไมโครเวฟ) การควบคุมรีโมท (รังสีอินฟราเรด)
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือเป็นคลื่นที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กตั้งฉากกันและเคลื่อนที่ไปยังทิศทางเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 m/s หรือเทียบเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้










อธิบาย

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าสลับไหลผ่านลวดตัวนำ จะก่อให้เกิดสนามไฟฟ้าขึ้นรอบ ๆ ลวดตัวนำนั้น สนามไฟฟ้านี้จะเพิ่มความเข้มสูงขึ้น แล้วค่อย ๆ ลดลงและสลับทิศทางในที่สุด สลับกันไปเรื่อย ๆตามกระแสไฟฟ้าที่ไหลสลับเข้าในลวดตัวนำ ขณะเดียวกันสนามแม่เหล็กก็จะเกิดขึ้นรอบ ๆ ลวดตัวนำในลักษณะเดียวกับสนามไฟฟ้า ในกรณีแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือ เครื่องส่งวิทยุ ซึ่งต่อกำลังงานไปยังลวดตัวนำที่เรียกว่าสายอากาศ โดยอาศัยสายส่ง กระแสไฟฟ้าสลับซึ่งไหลในสายอากาศ จะสร้างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ดังนั้นคลื่นวิทยุที่กระจายออกจากสายอากาศจะประกอบด้วยสนามไฟฟ้าซึ่งเขียนแทนด้วย E และสนามแม่เหล็กซึ่งเขียนแทนด้วย H